ช่องทางรับฟังความคิดเห็น     คลังเอกสาร     คำถามที่พบบ่อย     ถาม-ตอบ      มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี    

ประวัติความเป็นมา IBC

 

ปัจจุบันหน่วยงานสถาบันการศึกษา มหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยได้มุ่งเน้นงานวิจัยที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ และการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเชื้อโรคและพิษจากสัตว์อย่างกว้างขวาง เช่น การผลิตเวชภัณฑ์ เภสัชภัณฑ์ ถนอมและแปรรูปอาหาร การผลิตพืชและสัตว์ทางการเกษตร ฯลฯ ซึ่งอาจเกิดความเสี่ยงทางชีวภาพและเชื้อโรคในสิ่งแวดล้อมขึ้นกับนักวิจัยในห้องปฏิบัติการ สถานีฝึกทดลองพืชและสัตว์ ส่งผลถึงความปลอดภัยของนักวิจัยเอง ผู้ช่วยนักวิจัย ชุมชน สถานศึกษาและสถานประกอบการ อันเป็นปัญหาที่จำเป็นต้องมีการจัดการที่เหมาะสม

 

         ดังนั้น เพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดใน พรบ.เชื้อโรคและสัตว์พิษ และ ร่าง พรบ. ความปลอดภัยทางชีวภาพ จึงมีความจำเป็นในการจัดตั้งคณะกรรมการความปลอดภัยทางชีวภาพระดับสถาบัน (Institutional Biosafety Committee-IBC) มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ขึ้นมา เพื่อพิจารณา คัดกรอง ดูแล ตรวจสอบเรื่องความปลอดภัยทางชีวภาพและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ ในงานวิจัยของมหาวิทยาลัยที่อาจเป็นภัยอันตรายต่อนักวิจัยในห้องทดลอง ชุมชนและสิ่งแวดล้อม ดูแลตรวจสอบงานวิจัยโดยเฉพาะที่เกี่ยวกับ GMO (Genetically modified organisms) การรักษาผู้ป่วยโดยการตกแต่งยีน เป็นต้น